จากบทความเรื่อง PASSION INCOME ค้นหาความชอบ เพื่อมอบรายได้ที่ใช่ ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2
4. ชีวิตคือ การเลือก
เมื่อผ่านขั้นตอนการทดลอง และ ค้นพบ ความชอบ ความใช่
ในกิจกรรมที่คุณทำได้ไม่รู้เบื่อแล้ว…ขั้นต่อไป ก็คือการเลือก หรือพูดอีกอย่างก็คือ
การ ‘ตัดทิ้ง’ นั่นเอง…
ในชีวิตคนเรา อาจมีเรื่องที่ชอบ อยู่มากมาย
…ชีวิตที่ไม่ต้องทำงาน เป็นเรื่องรื่นรมย์ค่ะ
บางคน ชอบทำอาหาร ชอบจัดสวน ..ชอบเทคโนโลยี ชอบการสื่อสารกับผู้คน
บางคน ชอบวาดภาพ ทำงานศิลปะ เขียนหนังสือ โดยไม่แคร์ความเหงา หรือ สังคมข้างนอก
บางคน ชอบทำธุรกิจ ชอบปาร์ตี้ ไทม์ …หลายๆคน มีความสุขกับงานประจำเบาๆ
แต่ทั้งหมดนี้ บางเรื่อง ไม่สามารถ สร้างรายได้
ให้พอกับ Fix cost รายเดือนของคุณ ใช่หรือไม่ ?
แน่นอนว่า หากคุณรักการนอนเป็นอาชีพ หรือ รักการนั่นไม่สามารถสร้างรายได้ให้คุณได้แน่ๆ
วิธีแก้ปัญหามีเพียง สองข้อ ดังนี้
1. ยอมรับความจริง แล้ว ตัดความชอบที่ไม่สร้างรายได้ทิ้ง
ทิ้งจากการคำนวน รายรับ … แต่ไม่ทิ้งไปจากชีวิต ! มีบางความชอบที่ดูเหมือนไม่มีทางสร้างรายได้
แต่ก็ ‘ ไม่แน่ ! ‘ หากคุณใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในทางของคุณ Value Add อาจเพิ่มเกินคาดเดา
โดย เฉพาะ ในโลกออนไลน์ (โดยจะมีตัวอย่าง ในหัวข้อใหม่ ต่อไปค่ะ )
2. โฟกัส ไปที่สิ่งที่ชอบ ใช่ และสร้างรายได้
ถ้ายังหาไม่เจอ ให้กลับไปสู่ขั้นตอนของการทดลอง ในตอนที่สอง….
ฟังดูโหดร้ายไปสักนิด! แต่ชีวิตจริง โดยเฉพาะในโลกธุรกิจ ก็ไม่ได้อ่อนโยนกับคุณเท่าไหร่นัก
ลองมาดู ตัวอย่าง ที่ปฏิเสธไม่ได้เลย ดังนี้ค่ะ
เมื่อ Steve Jobs หวนกลับคืนสู่ Apple ในปี 1997
ขณะนั้น Apple ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงที่หลากหลายมาก
แค่เครื่อง Macintosh อย่างเดียวก็มีรุ่นย่อย ๆ ออกวางขายเกือบสิบรุ่น
วันหนึ่งในขณะที่มีการประชุมวางแผนสินค้า
ทุกคนกำลังแสดงความเห็นเกี่ยวกับสินค้าของ Apple กันอย่างกว้างขวาง
แล้ว Jobs ก็ตะโกนออกมากลางที่ประชุมว่า “ STOP ”!!
แล้วเดินออกไปขีดเขียนบนกระดานไวท์บอร์ดเป็นตาราง 2 x 2
แนวตั้งเป็น “ลูกค้าทั่วไป – มืออาชีพ”
แนวนอนเป็น “อุปกรณ์ตั้งโต๊ะ – เคลื่อนที่”
แล้วบอกกับทุกคนว่า
“งานของเราคือต้องมุ่งให้ความสำคัญกับสินค้าหลัก 4 อย่างนี้เท่านั้น
สินค้าอื่นต้องยกเลิกไปให้หมด“
ประโยคนี้ทำให้ที่ประชุมเงียบลงไปทันตา
แต่อย่างไรก็ตาม จากการที่ Apple ลดรุ่นคอมพิวเตอร์ลง
เหลือเพียงแค่ 4 รุ่น ได้ช่วยชีวิต Apple ให้รอดตายจากภาวะล้มละลาย
ซึ่ง Jobs พูดถึงเรื่องนี้ในภายหลังว่า
เบื้องหลังของคำว่า โฟกัส
คือการเลือกที่จะปฏิเสธ ไอเดียดีๆ นับร้อยไอเดีย แล้วเลือกมาเพียงหนึ่งเดียว
“People think focus means saying yes to the thing you’ve got to focus on.
But that’s not what it means at all.
It means saying no to the hundred other good ideas that there are.
You have to pick carefully.”
#Steve Jobs

Credit : flickr.com
นี่คือพลังของ การ FOCUS ! ( ตัดทิ้งในสิ่งที่ไม่ตอบโจทย์ )
ชีวิตเราอาจมีเวลาน้อยเกินกว่าจะรับไว้ทุกอย่างที่ใจปรารถนา
ดังนั้น จงเลือกเฉพาะสิ่งที่ใจคุณบอกว่า
ใช่ ใช่ และ ใช่ ( ไม่ใช่เพียงแค่ผิวเผิน แต่คุณต้องตระหนักในทุก
แง่มุม ไม่ว่าดีร้าย ที่คุณต้องพบเจอ )
เรียบเรียงจาก The Real Leadership Lessons of Steve Jobs
by Walter Isaacson
สำหรับ ผู้ที่ชื่นชอบศิลปะการต่อสู้สไตล์กังฟู
คงนึกถึง “บรูซ ลี (Bruce Lee)” อดีตดาราดังฮ่องกงผู้ล่วงลับ
ซึ่งได้กลายเป็นตำนานโลก
ที่นำศิลปะการต่อสู้ของจีนไปเผยแพร่ยังซีกโลกตะวันตก ช่วงยุคปี 60-70
บรูซ ลี มีชื่อเสียงทั้งการเป็นนักแสดง ผู้กำกับ ผู้สร้าง ผู้เขียนบท
และศิลปินกังฟู ผู้คิดค้นท่ามวย“ จีทคุนโด้”
จนได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลสูงสุด ด้านศิลปะการต่อสู้แห่งศตวรรษ ที่ 20
นอกจากนี้ เขายังเป็นนักคิดนักเขียน
ที่มักสอดแทรกปรัชญาผ่านบทสนทนาของตัวละคร ในภาพยนตร์หลายเรื่องของตัวเอง
ที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนทั่วไปได้ตระหนักว่า
เราไม่ต้องฟังคำบงการจากใคร ชีวิตเป็นของเรา
เราคือผู้กำหนดโชคชะตาด้วยตัวเอง
“ผมไม่กลัวคนที่ฝึกเตะครั้งละ 10,000 ท่า แต่ผมกลัวคน ที่ฝึกเตะท่าเดียวถึง 10,000 ครั้ง”

Credit : flickr.com
คนที่ฝึกเตะครั้งละ 10,000 ท่า เปรียบเหมือนคนที่ไม่มีความมุ่งมั่นในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนคนที่ฝึกเตะท่าเดียวถึง 10,000 ครั้ง ก็เปรียบเหมือนคนที่มีใจจดจ่อในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ลุล่วงไป อย่างไม่ยอมแพ้ ไม่ท้อ ไม่ถอย
เรียบเรียงจาก 10 ปรัชญาชีวิต จากสุดยอดดารากังฟู บลูซ ลี
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤษภาคม 2555
5. เมื่อเจอสิ่งที่ใช่ จงอย่าหยุดยั้งที่จะพัฒนาต่อไป
มนุษย์แต่ละคนก็มีความต่าง มีทักษะ และพรสวรรค์ที่แตกต่างกัน
ถึงแม้คนบางคนจะโชคดี ค้นพบสิ่งที่เรียกว่าเป็น PASSION แล้ว
ก็ยังคงหนีไม่พ้นที่ต้องเจอกับปัญหา เจออุปสรรคอะไรมากมาย
ไม่ต่างกับคนที่คิดว่าตัวเอง ยังไม่ไปไหน หรือ ยังหาตัวเองไม่เจอเลย
แต่ในอุปสรรคปัญหาเหล่านั้น มีเพียงเส้นบางๆ
ที่แยกคนสองคนนี้ ให้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ก่อนที่จะกล่าวถึงวิธีคิดของคนที่ประสบความสำเร็จมากกว่านั้น
ขอกล่าวถึงเรื่องราวของชายผู้หนึ่งผู้ซึ่งค้นพบ Passion ของตนแล้ว
แต่ทว่าอุปสรรคใหญ่หลวงในชีวิตก็มาสะกิดเขาจนได้
…คารอลี่ ทาแคค เป็นทหารยศนายสิบและเป็นนักแม่นปืนระดับประเทศของฮังการี
เป็นตัวเต็งอันดับต้นๆของประเทศที่จะได้ไปโอลิมปิคในปี 1940
แต่ด้วยความโชคร้าย ปี 1938 สองปีก่อนโอลิมปิค
ทาแคคเกิดอุบัติเหตุทำลูกระเบิด ระเบิดใส่มือขวา
ข้างที่เขาใช้ยิงปืนจนมือพิการ ความฝันที่จะโอลิมปิคก็พังทลายไปกับมือ
เขาหายหน้าไปจากวงการแม่นปืน
เพื่อนๆคิดกันว่าเขาคงทำใจไม่ได้ คงผิดหวังและเสียใจอย่างหนัก
ในปี 1939 ในงานแข่งยิงปืนชิงแชมป์ประเทศของฮังการี
ทาแคคเดินเข้ามาในงานหลังจากหายไปหนึ่งปี
เพื่อนๆต่างกรูเข้าไปรุมล้อม บ้างแสดงความเห็นใจ
บ้างมาชื่นชมในความเข้มแข็ง
ที่ทาแคคฝืนใจมาเชียร์เพื่อนๆลงแข่งทั้งๆที่ตัวเองมือพิการ
แต่ทุกคนก็ประหลาดใจ…
เพราะทาแคคบอกว่า
เขาไม่ได้มาแค่ดูเพื่อนๆแข่ง แต่เขามาลงแข่งด้วย !!
ในหนึ่งปีที่หายไป
ทาแคคแอบซุ่มฝึกยิงปืนด้วยมือซ้าย มือที่ไม่ถนัดแต่เป็นข้างเดียวที่เหลืออยู่
ซ้อม ซ้อม ซ้อม แล้วก็ซ้อม ไม่ได้คร่ำครวญ ไม่ได้เสียใจ
ทาแคคชนะการแข่งขันในวันนั้น
แต่เนื่องจากมีสงครามโลก โอลิมปิคปี 1940 และ 44 เลยไม่ได้จัด
แต่ทาแคคก็อดทนรอ จนได้ไปชนะพร้อมทำสถิติโลกในโอลิมปิคปี 1948
และได้เหรียญทองอีกครั้งในปี 1952
ทาแคคได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน Olympic hero
เขาเป็นหนึ่งในคนพิการไม่กี่คนที่ได้เหรียญทองโอลิมปิค
…เรื่องราวของเขาเป็นตำนานของโอลิมปิคจนถึงปัจจุบัน !
มือขวาพิการเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้ แต่มือซ้ายยังใช้การได้
ทาแคคก็เลิกคิดถึงมือขวาและมุ่งมั่นกับมือซ้ายเพียงอย่างเดียว
เพียงเส้นบางๆ ที่แยกคนที่ประสบความสำเร็จ
กับคนที่ไม่ประสบความสำเร็จ อาจสรุปเป็นประโยคได้ว่า
“ Ignoring all the thing you could do.
And doing What you should do ”
อย่าไปใส่ใจในปัญหาที่แก้ไม่ได้
แล้วให้ทำให้สิ่งที่เราสามารถทำได้ (ให้ดีที่สุด)
เรียบเรียงจาก บทความ “ เส้นแบ่งของความสำเร็จ ”
ธนา เธียรอัจฉริยะ
ความลับมีเพียงเท่านี้
ขอให้ ทุกคนโชคดี กับการค้นพบค่ะ 🙂
所有事在变得容易之前,
都是困难的。
ก่อนที่จะมาเป็นเรื่องง่าย
ทุกเรื่องนั้นเคยเป็นเรื่องยากลำบากมาก่อน