สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร เมื่อการศึกวัดชนะกันด้วยสงครามใหญ่ ชนะศึกจึงไม่ได้แปลว่าชนะสงคราม เมื่อ “อาลีบาบาตัดสินใจซื้อลาซาด้า” จึงยังไม่ได้หมายถึงชนะสงคราม แต่เป็นเหมือนเสียงปี่เสียงกลองว่าสงครามนี้ เพิ่งจะเริ่มเท่านั้น
เพราะไม่กี่วันต่อมาหลังจากอาลีบาบาเข้าซื้อหุ้นลาซาดา เจ้าค้าปลีกยักษ์ใหญ่ในไทยอย่างเซ็นทรัลก็ซื้อ Zolara เสียงปี่กลองจึงดูเพิ่งจะเริ่มเท่านั้น
อาณาจักรทรงพลังของ Jack ma ภายใต้ปีกของอาลีบาบา
ถ้ามาทำความรู้จักอาณาจักรอาลีบาบาที่จีน ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ประกอบไปด้วยบริษัทลูก
- Taobao.com
- Alipay.com
- Tmall.com
- Aliexpress.com
- Alitrip.com
- etc
Taobao หรือ เถาเป่า เป็นเว็บไซต์อีคอมเมิรซ์ที่มีคนใช้บริการมากที่สุดของจีน เป็นธุรกิจแบบ C2C (Customer to Customer) คือเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ผู้ขายผู้ผลิตจะเป็นใครก็ได้สามารถเข้าใช้บริการผ่านหน้าเว๊ปขายของโดยตรง ให้บริโภคทั่วไปสามารถเข้ามาซื้อของได้ ซึ่งส่งผลให้ของในเว๊ปหลายชิ้นมีของปลอมมาขาย
โดยมีบริษัท ‘อลีเพย์’ Alipay บริษัทลูกอีกแห่งที่ทำด้านการเงิน ทำหน้าที่สื่อกลางในการชำระเงินระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ที่สามารถทำให้มั่นใจได้ว่า ทั้งผู้ซื้อจะได้ของเมื่อชำระเงิน และผู้ขายจะได้รับเงินเมื่อส่งมอบของแล้ว ที่สำคัญอลีเพย์ในอนาคตอาจมาแทนสิ่งที่เรียกว่า ‘ธนบัตร’ เงินกระดาษ ที่คนใช้ชำระสินค้า ค่าบริการ ได้ทั่วไป
อีกบริษัทฯ คือ Tmall.com หรือ เทียนเมา เป็นเว็บไซต์คล้าย เถาเป่า แตกต่างตรง เทียนเมา เป็นธุรกิจแบบ B2C (Business to Customer) คือผู้ที่จะเอามาขายบทเว็บไซต์ดังกล่าวจะต้องร้านค้าที่มีเครื่องหมายการค้า หรือ..
บริษัทกลางที่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า หรือ…
ตัวแทนจำหน่าย ร้านค้าหรือบริษัทที่รับอนุญาตจากแบรนด์สินค้าดังกล่าวเพื่อป้องกันเอาสินค้าของปลอมมาขาย โดยผู้ขายบนเว็บไซต์เทียนเมา แบรนด์ผู้ค้าต้องชำระค่าบริการ ให้เว็บไซต์ดังกล่าวเป็นรายเดือน ผิดกับเถาเป่า ที่รายได้หลักจะมาจากโฆษณาและขาย Template สำหรับเปิดร้านค้าบนเทียนเมา
นอกจากนั้นอาลีบาบายังมีลูกในเครืออีกมากมาย Aliexpress.com ที่คล้ายเทียนเมาแต่เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด หรือ Alitrip.com ขายตั๋ว แพ็กเกจเที่ยว และยังมีธุรกิจหนังที่เพิ่งเข้าไปลงทุนไม่นาน และยังธุรกิจอื่นๆ อีกมากมาย
วิเคราะห์ตลาดอีคอมเมิร์สไทย
กลับมาดู อีคอมเมิร์ซในไทย นอกจาก…
‘ลาซาด้า’ ที่ธุรกิจคล้ายเถาเป่า ที่อาลีบาบาเพิ่งซื้อ ที่ดูเหมือนตอนนี้จะเป็นผู้นำในตลาดนี้ ที่นำคู่แข่งไปหลายก้าว ยังมี ‘ตลาดดอทคอม’ ที่เป็นคู่แข่งมายาวนานและเป็นคู่แข่งสำคัญของลาซาด้า แต่ดูเหมือนปัจจุบันจะสู้กันไม่ได้ โดยผู้บริหารเองยังประกาศว่าจะไม่เล่นเกมราคาแข่งกับลาซาด้า
ถ้ามองไปที่จุดตัดอะไรที่ทำให้เถาเป่าชนะอีเบย์ในดินแดนแม่น้ำจีน นอกจากแนวคิดที่ต่างกันระหว่างผู้บริหารฝรั่ง กับแจ็ค หม่า เรื่องการเปิดหน้าเว็ปให้ผู้ขายมาเปิดร้านและโพสต์สินค้าขาย โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งขัดกับปรัชญาการบริหารของอีเบย์ จนมีเสียงถากถ่างจากวอลสตรีท ว่าเถาเป่าไม่น่ารอด และผู้บริหารชาวอเมริกันกับเยอรมันของอีเบย์พูดจีนไม่ได้เลย อีกจุดหนึ่งคือ อีเบย์ พยายามเซ็นสัญญากับเว็บพอร์ทัลดัง เพื่อไม่ให้เถาเป่าได้ลงโฆษณา
เถาเป่าลงโฆษณาออนไลน์ไม่ได้ จึงไปเน้นหนักโฆษณาทางทีวี รถเมล์ รถไฟฟ้า บวกกับตอนผู้ประกอบยังไม่ได้ใช้อินเตอร์เน็ตมากนัก การลงโฆษณาดังกล่าวจึงทำให้เป็นที่รู้จักมากกว่า
ส่วนปัจจัยที่ทำให้ลาซาด้านำขาด เพราะมีบริการเก็บเงินปลายทางเมื่อลูกค้าได้รับสินค้าแล้ว เป็นเว็บไซต์ขายของออนไลน์ เว็บแรก ๆ ในไทยที่กล้าทำแบบนี้ เพื่อเพิ่มความไว้เนื้อ เชื่อใจ ให้คนไทยที่ยังระแวงว่าจะโดนโกงจากการซื้อของผ่านอินเตอร์เน็ต บวกกับคนไทยยังมีอัตราการถือครองบัตรเครดิตที่สามารถซื้อของออนไลน์ค่อนข้างน้อย
อีกปัจจัยหนึ่งคงเป็นการทำการตลาดลาซาด้าผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ และ Traffic Provider ทั้งไทย และต่างประเทศ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น Facebook ads, Google Ads (แสดงผลผ่านหน้าแรกของ Google และเว็บไซต์เครือข่ายผู้เผยแพร่โฆษณาของ Google ผ่าน Google Adsense) และอื่น ๆ อีกมากมาย เรียกได้ว่าทำการตลาดให้คนเห็นมากที่สุด จึงเป็นปัจจัยสำคัญให้ลาซาด้านำคู่แข่งเยอะ
อีกเจ้าอีคอมเมิร์ซหนึ่ง…
‘เซ็นทรัลออนไลน์’ บริษัทในเครือเซ็นทรัลที่แปลงโฉมมากจากบริษัทออฟฟิศเมทเก่า มาเป็นเซ็นทรัลออนไลน์เพื่อประกาศตัวว่าเซ็นทรัลเริ่มรุกออนไลน์ โดยมีภาษีดีกว่าตรงที่บริษัทฯ มีกำไรแล้ว เนื่องจากมีฐานกำไรจากสินค้าในแบรนด์ออฟฟิศเมทเก่า และ บีทูเอส เป็นฐานเดิม
แต่เมื่อมีร้านค้าออนไลน์ ร้านค้าปลีกที่เป็น Shop ก็เหมือนจะได้รับผลกระทบ จนอาจจะต้องปิดตัว หรือปรับกลยุทธ์การจัดจำหน่ายแน่ ๆ เพราะหากในเว็บไซต์ขายราคาเดียวกับร้านค้าปลีกเดิม ไม่มีแรงจูงใจมากพอให้ลูกค้าเดิมหันไปซื้อจากเว็บไซต์ นอกจากความสะดวกเพียงอย่างเดียว
การเปิดให้บริการออนไลน์ของเซ็นทรัลแรก ๆ ยังเป็นที่กังขาว่าเปิดขึ้นมาไว้เพื่อให้ชื่อว่ามีออนไลน์ไว้อย่างนั้นหรือไม่ เพราะสินค้าที่นำมาขายบนออนไลน์ก็คือสินค้าในห้าง ที่ราคาไม่ได้ต่างจากบนห้าง
ศึกค้าปลีกออนไลน์ไทยต้องดูกันยาว ๆ
แต่ข่าวการซื้อ Zalora ล่าสุดก็น่าจะบอกวิสัยทัศน์ และ การตระหนักถึงบทบาทธุรกิจออนไลน์ในอนาคต เพราะอาจวางตัว ‘ห้าง’ เซ็นทรัลในอนาคตให้เป็นที่ผู้คนมาเดินเล่นพบปะแลกเปลี่ยน โดยเน้นมากินข้าวกัน
[pullquote align=”full” cite=”” link=”” color=”” class=”” size=”14″]เหมือนสภาพที่เห็นในปัจจุบันว่าคนเดินห้างส่วนใหญ่จะอยู่ที่แถวร้านอาหารมากกว่าเดินซื้อของ ซึ่งก็พอบอกแนวโน้มอนาคตได้ว่าคนจะซื้อของในห้างลด แต่ไปซื้อทางออนไลน์มากขึ้น แต่คนก็ยังมาเดินห้างเพื่อพบปะกินข้าวสังสรรค์กัน[/pullquote]
การซื้อ Zalora ที่มีธุรกิจใกล้เคียง เทียนเมา ของอาลีบาบา จึงบอกได้ถึงการวางตำแหน่งตัวเองธุรกิจเอง ที่ไม่จำเป็นต้องไปชกกับลาซาด้าเต็มตัว เพราะมีกลุ่มลูกค้าคนละเป้าหมายกัน
ขณะอีกเจ้าอย่างของ ‘ไอทรูมาร์ท’ บริษัทในเครืออาณาจักรซีพี ทื่ถือว่าเชี่ยวสมรภูมิรบที่ถือเป็นดินแดนบ้านเกิดของตัวเอง ยิ่งซีพีเองก็มีสินค้าในมือตัวเองตั่งแต่ต้นน้ำยันหน้าปากซอย (เครือโภคภัณฑ์ขายสินค้าเกษตรยันเซเว่น) จึงพร้อมดันไอทรูมาร์ทสู้ในสนามรบนี้เต็มที
ยิ่งเห็นการไม่เห็นการทุ่มซื้อบิ๊กซี ทั้งในไทยและเวียดนามรอบที่ผ่านมา บอกเป็นนัย ๆ ได้ว่า ไม่เอาห้างค้าปลีก!
[pullquote align=”full” cite=”” link=”” color=”” class=”” size=”14″]ซีพีพร้อมมาสู้รบในตลาดอีคอมเมิร์ซที่ดูเป็นอนาคตยิ่งกว่า[/pullquote]
เพราะไม่ว่าจะเปิดดูประวัติศาสตร์ธุรกิจอินเตอร์เน็ตหรือจากพงศวดารที่อีเบย์แพ้เถาเป่า การผู้มาทีหลังหรือเป็นรอง หรือตามเยอะๆ ไม่ได้แปลว่าจะกลับมาเป็นผู้ชนะไม่ได้ ยิ่งกับธุรกิจอินเตอร์เน็ต ที่ผู้ชนะกันนิดหน่อย ก็สามารถกินรวบได้ทุกอุตสาหกรรม อย่างสมัยไฮไฟท์ที่มาก่อนเฟคบุ๊ค
แต่เฟคบุ๊คที่มาหลังก็เล่นเอาไฮไฟท์ไม่มีที่ยืนในปัจจุบัน ยิ่งกับบทเรียนอีเบย์ ที่โดนเถาเป่าไล่เตะออกจากน่านน้ำจีนด้วยแล้ว ความชำนาญสมรภูมิจึงมีส่วนสำคัญ ต่อการศึกยิ่งนัก
ยิ่งเมื่อการศึกครั้งนี้เพิ่งจะเริ่มต้น การศึกครั้งนี้จึงต้องติดตามกันไปยาวๆ แบบอย่าเพิ่งด่วนสรุป อย่างที่โบราณเคยว่าไว้ “สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพอีคอมเมิร์สไทย”
อีคอมเมิร์สไทยก็ไม่ต่างจากทหารที่ต้องสู้ศึกครั้งนี้ มาตามดูกันต่อไปว่า Ecommerce ไทยจะปรับตัว ปรับกลยุทธ์ต้อสู้กับศึกครั้งนี้ ที่คู่แข่งยกทัพที่แข่งเกร่งมากขนาดนี้ ธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ของไทยจะเป็นไปในทิศทางใด จะสู้ต่างประเทศไทยได้ไหม ก็ต้องติดตามกันยาว ๆ