Jeff Bezos ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Amazon.com คือหนึ่งในนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในแวดวงของการค้าปลีกออนไลน์ระดับโลก
ที่เริ่มต้นจากศูนย์สู่ธุรกิจระดับแสนล้านบาทภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี
Jeff Bezos เริ่มต้นด้วย Passion ด้วยความที่อยากจะนำหนังสือในร้านค้าปลีกธรรมทั่ว ๆ ไป เปลี่ยนมาเป็นการค้าปลีกออนไลน์
และพัฒนาต่อสู่ Ebook หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถอ่านได้บนอุปกรณ์ Mobile ที่ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนอย่างมากในแวดวงการค้าปลีกหนังสือไปตลอดนับตั้งแต่นั้นมา
และ Jeff Bezos ได้พัฒนาจากการค้าปลีกหนังสือออนไลน์ สู่การเป็นเว็บไซต์ Ecommerce ที่รวบรวมสินค้ามากมายนับไม่ถ้วน ทำให้เป็นเว็บไซต์ Ecommerce อันดับต้น ๆ ของโลก ณ ปัจจุบัน
1. อย่าจมปรักอยู่ในด้านมืดเมื่อคุณล้มเหลว
เป็นเรื่องธรรมดามาก ๆ สำหรับการทำธุรกิจแล้วอาจจะไม่ได้ประสบความสำเร็จในครั้งแรกที่ลงมือทำ (จริง ๆ น่าจะเรียกว่า โอกาสประสบความสำเร็จน้อยมากในการเริ่มต้นทำธุรกิจครั้งแรกซะด้วยซ้ำ)
เพราะหลาย ๆ ครั้งที่ผมตัดสินใจผิดพลาดแล้วเกิดความเสียหายทางธุรกิจ ผมเคยจมปรักกับความล้มเหลวนั้นเป็นเวลานาน ผมทั้งเสียใจ นอยส์ ไม่มีกระจิตกระใจจะทำอะไร
แต่สุดท้าย มันกลับไม่มีอะไรดีขึ้นมาเลย จนกระทั่งผมเลิกนอยส์ แล้วพยายามลุกขึ้นเพื่อทำบางอย่างให้ธุรกิจดำเนินไปข้างหน้าต่อ หาวิธีแก้ไข แก้ทีละจุด
ประเด็นสำคัญก็คือ คุณรู้สึกเสียใจ หดหู่ได้ เมื่อธุรกิจไม่ได้ดำเนินไปเป็นอย่างที่คุณคาดเอาไว้ แต่ “อย่าจมปรักกับมันนานเกินไป”
2. ธุรกิจต้องขับเคลื่อนด้วย Passion ไม่ใช่ Fashion
การดำเนินธุรกิจจำเป็นที่จะต้องมีกลยุทธิ์ วิธีการที่รัดกุม เพื่อไปให้ถึงยังจุดหมายที่ตั้งเอาไว้ แต่สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจนั้น ๆ มีชีวิต หรือมีจิตใจขึ้นมา คุณจำเป็นต้องขับเคลื่อนธุรกิจนั้นด้วย Passion หรือความหลงใหล ความชอบ ความรัก ที่อยากให้ธุรกิจของคุณ ได้ตอบโจทย์ ช่วยเหลือ กับคนที่ซื้อสินค้าหรือบริการของคุณไป
ถ้าคุณทำธุรกิจเพียงเพราะอยากรวย ตามกระแส Fashion เห็นธุรกิจไหนกำลังมาแรง ก็กระโจนเข้าใส่ คุณอาจจะได้เงินในช่วงนั้นก็จริง และอาจจะได้ไม่นาน เพราะเมื่อมันหมดเทรนด์ หรือคุณเบื่อ เซ็ง สุดท้าย คุณก็เลิกล้มธุรกิจนั้นไปในที่สุด แล้วก็หาอะไรใหม่ ๆ ทำไปเรื่อย ๆ เปื่อย ๆ
3. ลงทุนในการพัฒนาสินค้าให้มากกว่าการทำการตลาด
กล่าวคือ ถ้าสินค้าห่วย การตลาดดี คุณอาจจะขายของได้เป็นเทน้ำเทท่า แต่ท้ายที่สุดแล้ว คนจะไม่กลับมาซื้อสินค้าของคุณอีก เพราะสินค้ามันห่วย
แต่หากสินค้าคุณดี บวกกับการตลาดที่ดีแล้ว จะทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างยั่งยืน มีการบอกต่อในทิศทางที่ดี เพื่อนชวนเพื่อนมาซื้อ เกิดการซื้อซ้ำของลูกค้า
สินค้าที่ดี อาจจะไม่ต้องเพอร์เฟ็คตั้งแต่แรกที่ทำการผลิต เพราะมันจะทำให้เงินทุนเราจมไปกับการพัฒนาสินค้ามากเกินไป และถ้าการตลาดคุณห่วย ก็อาจจะไม่มีคนซื้อสินค้าคุณเลยด้วยซ้ำ แม้ว่าตัวสินค้ามันจะดีมากก็ตามที
ดังนั้น ให้ค่อย ๆ พัฒนาสินค้าหรือบริการให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ อย่าหยุดการพัฒนา
4. เลือกชื่อแบรนด์ให้ดี จดจำได้ง่าย ขายได้ทั่วโลก
ชื่อแบรนด์ของธุรกิจของคุณคือสิ่งสำคัญมาก ๆ เพราะเมื่อเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง จำเป็นที่คนจะต้องจดจำชื่อแบรนด์ของคุณได้ง่าย ไม่สับสนกับชื่ออื่น หรือชื่อที่ใกล้เคียงกัน หรือแค่ออกเสียงผิดนิดหน่อย ก็อาจจะเปลี่ยนความหมายเป็นคนละเรื่องไปเลย
5. ต้องมีจุดยืนเป็นของตัวเอง
หลาย ๆ ครั้งผมพบว่า มีคนชอบพูดถึงการบริการลูกค้าของ Amazon.com ว่าหน่วยงานอื่น ๆ หรือบริษัทอื่น ๆ พยายามจะเป็นแบบผม
แต่ผมก็มักจะแนะนำว่า บริษัทของคุณจำเป็นต้องมีจุดยืนเป็นของตนเอง อย่าพยายามไปลอกเลียนแบบใคร เพราะต่อให้คุณทำได้ดีเท่าเขา คุณก็จะเป็นได้แค่ที่สอง แต่หากคุณสามารถหาจุดยืนเป็นของตนเองได้ คุณก็จะไม่เป็นสองรองใคร
6. โฟกัสที่ลูกค้าของคุณ
คุณจำเป็นที่จะต้องรู้จักลูกค้าของคุณดีกว่าใคร ๆ ในธุรกิจที่คุณทำอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ผมรู้ว่าคนที่เป็นลูกค้าของ Amazon.com นั้น ชอบสินค้าราคาถูก ชอบสินค้าโปรโมชั่น ส่งของรวดเร็ว มันอาจจะฟังดูเหมือนพูดง่าย ๆ แต่ทำเอาเข้าจริงมันทำได้ยากมาก ที่คุณจะรู้จักสิ่งที่ลูกค้าคุณชอบ
คุณจำเป็นที่จะต้องเก็บข้อมูลของลูกค้าเอาไว้ ยิ่งคุณเรียนรู้เกี่ยวกับลูกค้าคุณมากขึ้นเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งได้เปรียบทางการค้ามากขึ้นเท่านั้น และเมื่อวันเวลาผ่านไป 10 ปี 20 ปี คู่แข่งของคุณก็ตามไม่ทันแล้ว
7. อึด ถึก ทน
ธุรกิจที่ล้มเหลวเกิดจากการที่ผู้ประกอบการที่ล้มเลิก ยอมแพ้ไปก่อนที่จะสำเร็จ เราจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการที่เคยล้ม เจ๊ง หมดตัว แต่สามารถกลับขึ้นมายืนอย่างสง่างามได้อีกครั้ง ก็เพราะพวกเขาเหล่านั้น ไม่คิดจะยอมแพ้แม้ไม่เหลือสตางค์สักแดงเดียว
ดังนั้น ธุรกิจที่ล้มเหลว ก็คือธุรกิจที่เจ้าของยอมแพ้ ถอดใจไปก่อน
ลองถามตัวคุณเองดูว่าคุณถึก อึด ทน มากพอหรือยัง
8. คุณต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรขึ้นมา
เวลาที่คุณรับคนเข้ามาทำงาน คุณอาจจะได้คนที่ทำงานได้เก่ง ทำงานได้ดี แต่อาจจะไม่ได้ชอบหรืออยากที่จะทำให้มันดียิ่งขึ้นไปกว่านี้
ดังนั้นคุณจำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เอื้อต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของบริษัทของคุณ
ยกตัวอย่างเช่น Amazon.com ของผมนั้น เน้นย้ำเรื่องของลูกค้าเป็นสำคัญ ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อผมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้คนที่เข้ามาทำงานกับผม รู้สึกว่าอยากให้ลูกค้าได้รับแต่สิ่งดี ๆ อยากให้ลูกค้ามีความสุข ให้บริการลูกค้าด้วยความสดชื่น ยิ้มแย้มแจ่มใส
และนั่นก็ทำให้ Amazon.com ขึ้นชื่อในเรื่องของการให้บริการแก่ลูกค้านั่นเอง
9. ขายสินค้าพรีเมี่ยมในราคาที่เหมาะสม
สินค้าพรีเมี่ยมไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นสินค้าที่มีราคาแพงหูฉี่เสมอไป แต่นั่นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท
สำหรับ Amazon.com นั้น ในส่วนของการขาย Tablet อย่าง Kindle ก็ไม่ได้มุ่งเน้นที่จะทำกำไรจากตัว Tablet เป็นหลัก
ดังนั้น Tablet Kindle จึงมีราคาไม่สูง เมื่อเทียบกับคุณภาพที่ลูกค้าได้รับ เพราะเราโฟกัสหลังจากที่ลูกค้าซื้อ Tablet ไปแล้ว เกิดการซื้อสินค้าที่เป็น Digital Product หลังจากนั้นมากกว่า
10. ธุรกิจคือความเสี่ยง
ประโยคที่เราคุ้นหูกันบ่อย ๆ ก็คือ “การลงทุนมีความเสี่ยง” การทำธุรกิจก็คือการลงทุนอย่างหนึ่งที่มีความเสี่ยง แต่หากถามผู้ประกอบการหรือนักลงทุน ที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่แล้วล่ะก็ พวกเขามักจะตอบในทิศทางเดียวกันว่า
“ความรู้ที่คุณมีจะช่วยทำให้การลงทุน การทำธุรกิจ มีความเสี่ยงน้อยลง หรือแทบจะไม่มีเลย”
ดังนั้น คุณจำเป็นที่จะต้องเข้าใจ รู้อย่างลึกซึ้ง ในธุรกิจที่คุณทำอยู่ เพื่อที่จะทำให้ธุรกิจของคุณเติบโต และลดความเสี่ยงต่อการเจ๊ง ขาดทุน ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
“การทำธุรกิจย่อมมีความเสี่ยง แต่สิ่งที่เสี่ยงที่สุดคือการไม่ยอมเสี่ยงอะไรเลย”