ถ้าความ “อดทน” ทำให้มนุษย์ผ่านฤดูกาลอันโหดร้าย ความ “ฝัน” และ “จินตนาการ” ทำให้โลกหมุนเวียนต่อเนื่อง สร้างความเจริญไม่มีที่สิ้นสุด
ความ “ขบถ” ต่อรูปแบบ ประเพณีปฏิบัติเดิม คือ “นวัตกรรม” สิ่งที่บอกเราถึงความสำเร็จของไอโฟน ได้ดีที่สุดคือ การทำธุรกิจ “มือถือ” รูปแบบใหม่ ในแบบที่รูปแบบเดิมไม่ทำ ขณะโทรศัพท์มือถือในรูปแบบเก่าเป็น “อุปกรณ์สื่อสาร” ไม่ใช่
[pullquote align=”full” cite=”” link=”” color=”” class=”” size=”14″]”อุปกรณ์คอมพิวเตอร์”[/pullquote]
หน้าที่หลักของมันคือเชื่อมต่อกับ Cellular เพื่อสื่อสารเป็นหลัก จุดขายของมันคือเน้นเรื่องสัญญาณคุณภาพ ไอโฟนกลับย่นย่อคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมมาอยู่ที่จอมือถือเพียงเครื่องเดียว
ขณะที่โนเกียพยายามจะขายมือถือออกเป็นรุ่น ๆ (หลาย Series) ในรูปแบบหลากหลาย ราคาต่างกัน ไอโฟนกับเสนอสินค้ารูปแบบเดียว ที่นาน ๆ ที ถึงจะทยอยออกมาเป็นรุ่น ๆ ที่มาพร้อมความก้าวหน้าล้ำยุคมาเสนอ
ในขณะที่เจ้ามือถือรุ่นเก่าหลายเจ้ายังคงผลิตสินค้าทุกอย่างจากโรงงานของตนเอง เพื่อรักษาความลับทางเทคโนโลยี
แอปเปิ้ล (ไอโฟน) กลับเลือกที่เก็บเฉพาะการออกแบบและการตลาดไว้กับตนเองเท่านั้น โดยปล่อยให้บริษัทอื่นจากภายนอกที่ไม่ใช่บริษัทของตนเองเป็นผู้ผลิตตัวสินค้าแทน ทำให้ไม่ต้องแบกรับต้นทุนแฝง
แอปเปิ้ล (ไอโฟน) จึงมุ่งเน้นไปที่ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลิตภัณฑ์ การออกแบบ และนวัตกรรมรูปแบบใหม่ๆ โดยไม่ต้องไม่ห่วงน่าพะวงหลังกับการควบคุมต้นทุนการผลิตและควบคุมโรงงานอันเป็นวิธีการสร้างกำไรในรูปแบบธุรกิจเดิม
ความลับความสำเร็จของแอปเปิ้ล (ไอโฟน) จึงคือ การย่นย่อสิ่งที่พะรุงพะรัง อันไม่จำเป็นทั้งหลายที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ เลือกมาเฉพาะสิ่งที่จำเป็นที่คนชอบ ยัดใส่เข้าในมือถือเครื่องเดียว รวมถึงตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นในการบริหารงาน
โดยเลือกจะเน้น (Focus) ไปที่ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรมที่ตัวเองถนัด โดยไม่ยุ่งเรื่องการผลิต บางทีอาจคล้ายแนวคิด “เซน” เรื่องลดทอนสิ่งพะรุงพะรัง หรืออย่างที่สถาปนิกกล่าวไว้ “น้อยได้มาก” (Less is more)
ขณะที่ในเรื่องการตลาด (เรื่องแบรนด์) แชมป์มือถือโลก 14 ปีอย่างโนเกียใช้การสื่อสารระหว่างบริษัทกับลูกค้า ราวอย่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค แอปเปิ้ล (ไอโฟน) กับปฏิบัติลูกค้ากับบริษัทราวกับ “สาวก” ยืนยันได้จากจำนวนผู้คนที่มายืนต่อแถวเพื่อจองซื้อไอโฟนในวันเปิดตัว
ถ้าแอปเปิ้ลเปรียบได้กับลัทธิใดลัทธิหนึ่ง สตีฟ จ็อบส์ คงเปรียบได้กับ “ศาสดา”ของลัทธินั้น ผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ลจึงไม่ใช่แค่ตัวสินค้า แต่คือเครื่องรางอันศักดิ์สิทธ์ ที่ผู้ซื้อ ซื้อเพื่อบ่งบอกถึงความเลื่อมใสในแนวทางของลัทธิ หรือกิจวัตร
แนวทางปฏิบัติของตัวผู้นำ ที่อาศัยความเป็นขบถ ความฝันบวกจินตนาและความคิดสร้างสรรค์จนสามารถเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ คำพูดของจ็อบส์ไม่ว่าจะพูดในงานรับปริญญา ที่ประชุมผู้ถือหุ้น หรืองานเปิดตัวสินค้า จึงเปรียบได้กับคำเทศนา ที่บรรดาเหล่าสาวก หรือไม่ใช่ ต้องเอาไปเป็นแนวทางปฏิบัติใช้
“จงหิวโหย และโง่เขลาอยู่เสมอ”
“เวลาของคุณมีจำกัด อย่ายอมเสียเวลาอยู่ในชีวิตของคนอื่น
“อย่าให้ความคิดหรือเสียงของคนอื่นมาดังกว่าเสียงที่อยู่ภายในใจคุณ”
“จงทำตามที่หัวใจของคุณปรารถนา”
“หนทางเดียวที่คุณจะสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้ คือคุณต้องรักในสิ่งที่คุณทำ”
และดูเหมือนเทศนาราวนี้จะยังไม่จางหายไป แม้วันที่จ็อบส์ไม่อยู่บนโลกใบนี้แล้ว
เหมือนดังกับ “Imagine” เพลงโปรดของเขาที่ยังคงดังอยู่ไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไร
[pullquote align=”full” cite=”” link=”” color=”” class=”” size=”14″]”You may say I’m a dreamer. But I’m not the only one.[/pullquote]
คุณอาจจะคิดว่าผมเป็นคนช่างฝัน แต่ไม่ใช่ผมคนเดียวหรอกที่เป็น บางส่วนจากเพลง Imagine
ถ้า “ความรัก” ทำให้มนุษย์ยืนหยัดต่อสู้ความลำบากได้อย่างยาวนาน “จินตนาการ” กับ “ความฝัน” ก็พาผู้คนเปลี่ยนแปลงโลกมานักต่อนักแล้ว