ในโลกธุรกิจปัจจุบัน หนีไม่พ้น การแข่งขันอย่างดุเดือด
ผู้ประกอบการ ทั้งหน้าใหม่ หรือเจนสังเวียน
ล้วนกำลัง ก้าวเท้าอยู่บนเส้นทางสายไฮสปีด
โดยเฉพาะ เหล่า Start up มือใหม่ ด้วยแล้ว
สิ่งที่ต้องเรียนรู้ ใหม่ ๆ มักจะประดัง ประเด เข้ามา จนแทบตั้งตัวไม่ทัน
….ว่าแล้ว ก็อย่ารอช้า เรามาเรียนรู้เคล็ดลับ ของการพัฒนาทักษะใหม่ๆ
เอาไปประยุกต์ใช้ได้ทั้ง เรื่องการตลาด การบริหารคน บริหารงาน
จนกระทั่ง วางระบบไอทีแบบง่าย ๆ
ที่อาจช่วยในการเพิ่มความสุข หรือ พัฒนา ความสามารถที่ เราต้องการกันค่ะ
ขอสรุปความจาก การสัมนา ของคุณ Josh Kaufman จาก TEDxCSU
ในคลิปนี้ คุณ Josh เปิดเรื่องได้อย่างน่าสนใจว่า
เมื่อสองปีที่แล้ว ชีวิตของเขาได้เปลี่ยนไปแล้วตลอดกาล
เมื่อลูกสาวตัวน้อยได้ถือกำเนิดขึ้นมา ทุกสิ่งทุกอย่างรอบ ๆ ตัวของเขา
มีการเปลี่ยนแปลงเพียงชั่วข้่ามคืน การลำดับความสำคัญในชีวิต ต้องคิดใหม่หมด
( Your Whole World change over night ..and all of your priorities change immediately )
นอกจากนั้นแล้ว เขายังต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อีกมากมาย
เช่นเรื่องการป้อนข้าว การแต่งตัวให้ลูก
เขากล่าวถึงตัวเอง และ ภรรยา เคลซี่ (Kelsey) ว่า
ทั้งคู่ต่างทำงานที่บ้านเป็นผู้ประกอบการส่วนตัวเอง
เคลซี่ พัฒนาหลักสูตรโยคะ ออนไลน์
ส่วนตัวเขาเองเป็นนักเขียน ดังนั้น งานที่ต้องเสร็จ ก็คือจำเป็นต้องเสร็จจริงๆ
( Kelsey and I both work from home. We are Enterpreneurs.
Kelsey develops courses online for Yoga Teachers. I am Author.)
ลองสังเกตคำว่า Enterpreneurs
ในประโยคนี้นะคะ คำ ๆ นี้เพิ่งมาดังในบ้านเราได้ไม่นานมานี้
ขอแปลว่า ผู้ประกอบการส่วนตัวค่ะ
หลังจากที่เขาผ่านวันเวลาอันยุ่งมาก ๆ จนแทบบ้า มาได้หลายสัปดาห์
เขาเริ่มมีความรู้สึกบางอย่างขึ้นมา และน่าจะเป็นความรู้สึกของ พ่อ แม่ มือใหม่ทั่วโลก นั่นก็คือ
“ฉันจะไม่มีอิสระในการทำอะไรอีกแล้ว ชีวิตนี้”
( I am never going to have free time EVER AGAIN )
มันเป็นความรู้สึกที่รบกวนจิตใจเขามาก เพราะว่าสิ่งสำคัญในชีวิตของเขาก็คือ
การได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ แล้วคราวนี้จะให้ทำอย่างไรได้ล่ะ ?
เขาเลยพยายามค้นหา ทั้งจากหนังสือ งานวิจัย และ Website ว่า
ถ้าจะเรียนรู้สิ่งใหม่ให้เร็วที่สุดจะต้องทำอย่างไร ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ ?
( How long does it take to acquire a new skill ?)
แล้วก็ได้คำตอบอันน่าตกใจที่ว่าต้องใช้เวลาถึง 10,000 ชั่วโมง !!!
เขาถึงกับอุทานออกมาว่า ” NOoooooo ” ฉันไม่ได้มีเวลามากมายขนาดน้านนนน
มันหมายถึงการทำงานเต็มเวลาตั้งห้าปี !!! ( 10,000 hours is a full time job for five years )
มันต้องมีอะไรผิดพลาดแน่ ๆ ( They don’t match up ) และสุดท้ายเขาก็ได้ค้นพบว่า
หมื่นชั่วโมงที่งานวิจัยบอกมาน่ะ มันสำหรับ การเป็นผู้เชี่ยวชาญ ( Expert-level performance )
กฎหนึ่งหมื่นชั่วโมงนี้ เริ่มมาตั้งแต่ วันที่ศาสตรจารย์ K.Anders Ericsson
ก้าวออกจาก มหาวิทยาลัย ฟลอริด้า โดยที่ท่านทำการค้นคว้าในส่วนของ
นักกีฬามืออาชีพ นักดนตรีอาชีพ เซียนหมากรุกอาวุโส
( Professional athletes, World class musicians , Chess grand masters )
และต่อมาที่กฎนี้แพร่กระจายออกไปสู่วงกว้าง
นั่นก็เพราะ หนังสือ Best Seller ที่ชื่อ ” Outliers : The story of success ”
โดย – Malcolm Gladwell –
มันได้ถูกบิดเบือนไปมาก จาก หมื่นชั่วโมง สู่จุดสูงสุดของสาขานั้น
เป็น สู่ผู้เชี่ยวชาญ สู่การทำอะไรได้ดี จนกระทั่ง สู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
( Top of an ultra competitive field —-> Expert of something —–> Good at something
—-> to learn something )
ข่าวดีก็คือ สำหรับการเรียนรุ้สิ่งใหม่ ๆ นั้น กฎหมื่นชั่วโมงนี้ ผิด !!!
จากการที่เขาได้หมกมุ่นกับเรื่องนี้ ทำให้เขาพบงานวิจัยใหม่
และรู้ว่า การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ของ คนเราใช้เวลาสั้นกว่านั้นมาก
โดยช่วงเวลาที่มีประสิทธภาพมากที่สุดก็คือ ช่วงแรก ของการเรียนรู้
เพราะเราจะตื่นตัว และ เอาใจใส่เป็นพิเศษและเราแทบไม่ได้ใส่ใจ เรื่องของเวลาเลย
เราจะใส่ใจแค่ว่า เราทำมันได้ดีขึ้น และ ดีขึ้นเรื่อย ๆ
มีกราฟที่โด่งดัง ที่ชื่อว่า learning curve อ้างอิงไว้อย่างนั้นด้วย
จนกระทั่งถึงจุด ๆ หนึ่งที่การเรียนรู้จะยากขึ้น ต้องใช้ความพยายามมากขึ้น
คำถามคือ ช่วงเวลาเริ่มแรกที่เส้นกราฟ ชันที่สุด รวดเร็วที่สุดนั้น ใช้เวลาเท่าไหร่ ?
งานวิจัยสรุปว่า
” 20 ชั่วโมง” จากการที่คุณไม่รู้อะไรเลย จะกระทั่งถึงจุดที่เข้าใจ
และนำไปต่อยอดในการพัฒนาตัวเองได้ ใน 20 ชั่วโมงนี้
หากคุณแบ่งย่อยออกเป็น 45 นาทีต่อวัน
ดังนั้นภายในหนึ่งเดือนคุณจะเป็นเจ้าของทักษะบางอย่างที่คุณต้องการ
แต่เพื่อให้การลงทุนเวลา 20 ชั่วโมงของคุณเกิดผลมากที่สุดจำต้องเป็นไปตามเงื่อนไข 4 ข้อดังนี้
( 4 Simple steps to rapid skill acquisition )
- แยกส่วนประกอบของทักษะที่คุณต้องการออกมา ทำให้ไม่ดูยากเกินไปเมื่อมองภาพรวม
( Deconstuct the skill ) - เรียนรู้ให้พอที่จะต่อยอดสู่การเรียนรู้ด้วยตัวเองอาจมีตัวช่วย 3-5 อย่างเช่น ดีวีดี หนังสือ คอร์สอบรม
( Learn enough to self-correct ) - ละทิ้งสิ่งขัดขวางการเรียนรู้ เช่น ความฟุ้งซ่าน TV อินเตอร์เนต จงจดจ่ออยู่กับชั่วโมงเรียนรู้ของคุณ
( Remove practice barriers) distraction TV Internet - ฝึกเข้าไป อย่างน้อย 20 ชั่วโมง
( Practice at least 20 hours )
เขาเล่าต่อว่า พวกเราไม่มีใครอยากรู้สึกว่า ตัวเองน่าผิดหวัง หรือรู้สึกว่าตัวเองโง่
ความรู้สึกเหล่านี้ ล้วนเป็นบาเรีย ที่ขวางกั้นไม่ให้เราได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ
ดังนั้นกฎ 20 ชั่วโมงนี้จะทำให้คุณก้าวข้ามผ่าน
ความรู้สึกแย่ ๆ กับตัวเองไปได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
เขาได้ลองทดสอบทฤษฎีนี้ ด้วยการฝึก อูคูเลเล่ ( Ukulele )
โดยเริ่มจาก เป็นเจ้าของอูคูเลเล่สักตัว แล้วเริ่มมองหาเพลงที่เขาอยากเล่นให้ได้
ปรากฎว่า ในหนังสือเพลง มองภาพรวมเห็นมีเป็นร้อย ๆ คอร์ด ก็รู้สึกถอดใจแล้ว
แต่ถ้ามองลงใปในแต่ละเพลง ก็จะเห็นว่า แต่ละคอร์ทนั้นมัน ซ้ำไป ซ้ำมา
เอาเข้าจริง ๆ แล้ว ก็มีเพียงแค่ 4 – 5 คอร์ด เท่านั้นที่จำเป็นต้องฝึก – G D Em C –
(ก็เหมือนทักษะ ทุกอย่างนั่นแหละ ที่จำเป็นต้องรู้แค่สิ่งสำคัญไม่กี่อย่างเพื่อไปต่อยอด )
แค่นี้คุณก็จะเล่นเพลง ป๊อบ ในช่วงห้าสิบปีที่ผ่านมาได้เกือบหมดแระ
( You can play pretty much any pop song of the past five decades )
ว่าแล้ว คุณ Josh Kaufman ก็โซโล่ เพลงเมดเล่ ตั้งแต่ ไททานิก / I ‘m yours ไปถึง กังนัมสไตล์
แถมทิ้งท้าย ได้อย่างกินใจอีกว่า
ผมมีความลับจะบอก…
” โชว์ที่ผมเพิ่งเล่นผ่านไปให้พวกคุณดู นั่นคือ ชั่วโมงที่ 20 ในการฝึกอูคูเลเล่ของผม ได้จบลงแล้ว “
ตามมาด้วย เสียงปรบมือ เป่าปาก ด้วยความชื่นชม
เขาทิ้งท้ายด้วยประโยคเท่ห์ ๆ ว่า
” The major barrier to skill acquisition isn’t intellectual … It ‘s Emotional “
ปราการด่านแรก ที่ขัดขวางการฝึกทักษะ ไม่ใช่ความไม่ฉลาด …
แต่มันคือ ความรู้สึกของคุณนั่นแหละ
ดังนั้น สิ่งสำคัญมาก ๆ ก็คือ หาให้เจอซะก่อนว่าอะไรคือ ทักษะที่คุณอยากมี
What turns you on ?
What Light you up ?
แล้วจดจ่อกับ ยี่สิบชั่วโมงนั้นของคุณ
เคยมีคำกล่าว ของท่านอับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln)
ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา กล่าวไว้ว่า
“ถ้าข้าพเจ้ามีเวลา 6 ชั่วโมงในการตัดต้นไม้ ข้าพเจ้าจะใช้ 4 ชั่วโมงแรกไว้ลับขวาน”
ดังนั้น หากเรามีหลักการ หรือ วิธีการง่าย ๆ ในการลับขวานเตรียมไว้แล้ว
การเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ที่เราต้องการ หรือ น่าจะจำเป็นต้องใช้ในอนาคต ก็คงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ขอทิ้งท้ายไว้ด้วย ประโยคท้ายสุด ของคุณ Josh Kaufmanในวันนั้นคือคำว่า
” HAVE FUN “
ขอให้สนุกนะคะ ^_______^
เรนันท์ สุทธิสว่างวงศ์
2 Comments
Phuthan Kantabusabong
ขอบคุณมากครับ
เรนันท์ สุทธิสว่างวงศ์
ขอบคุณที่ติดตามค่ะ 🙂